Huawei เปิดให้บริการ Public Cloud แล้วในไทย เป็นผู้ให้บริการระดับโลกรายแรกที่มาลงทุนใน EEC ที่ได้รับใบอนุญาตให้บริการคลาวด์จาก BOI

ในงานแถลงข่าวเปิดตัวบริการ Huawei Cloud ในประเทศไทยครั้งนี้ ได้มีดร. พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน มร. เจิ้ง เย่หลาย ประธานบริหาร กลุ่มธุรกิจคลาวด์ของหัวเว่ย มร. เจมส์ อู๋ ประธานบริหาร หัวเว่ย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมร. โซเลอร์ ซุน หัวหน้ากลุ่มธุรกิจคลาวด์ ของหัวเว่ยประเทศไทยเข้าร่วมในงานแถลงข่าว ซึ่งนอกจากจะเป็นการเล่าถึงวิสัยทัศน์และเทคโนโลยีของ Huawei แล้ว ก็ยังเป็นการเล่าถึงความร่วมมือที่ Huawei มีกับภาครัฐในเมืองไทยอย่างใกล้ชิดไปด้วย

Huawei นั้นได้รับมอบใบอนุญาตในการดำเนินธุรกิจบริการ Cloud ในประเทศไทยจาก BOI โดย Data Center ของ Huawei นั้นผ่านการรับรองตามมาตรฐาน Tier 3+ โดยมีการใช้เทคโนโลยีที่หลากหลายของ Huawei ทั้งชิปที่ Huawei ทำการพัฒนาเอง, Server และ Storage ของ Huawei ไปจนถึงระบบเครือข่ายของ Huawei และ Software ต่างๆ ที่ Huawei ทำการพัฒนาขึ้นมาสำหรับโซลูชันทางด้าน Cloud โดยเฉพาะ

Cloud Data Center แห่งนี้ของ Huawei จะตั้งอยู่ภายใน Eastern Economic Corridor (EEC) ของประเทศไทย ทำให้ข้อมูลทั้งหมดนั้นยังถูกจัดเก็บอยู่ภายในประเทศไทยและเข้าถึงได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ สามารถรองรับได้ทั้งการใช้งานจากภาคเอกชนและภาครัฐโดยไม่ต้องกังวลเรื่องข้อกำหนดใดๆ อีกทั้งยังรองรับ Application ได้หลากหลายรูปแบบจากการที่ไม่มีข้อจำกัดทางด้าน Bandwidth ด้วย

เปิดตัว Cloud Business Unit ในปี 2017 นำเข้าสู่ไทยทันทีในปี 2018 เป็นยุทธศาสตร์สำคัญของ Huawei

หลายๆ คนนั้นอาจจะยังไม่คุ้นเคยกับชื่อของบริการ Huawei Cloud มากนัก ทั้งนี้ก็เป็นเพราะ Huawei นั้นเพิ่งเริ่มจัดตั้ง Cloud Business Unit ขึ้นมาเป็นครั้งแรกในประเทศจีนเมื่อเดือนมีนาคม ปี 2017 ที่ผ่านมาเท่านั้น เพื่อเปิดให้บริการคลาวด์แก่หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรต่างๆ แต่ด้วยความรวดเร็วในการปรับนำทรัพยากรและเทคโนโลยีที่ตนเองมาอยู่ มาผสานเข้ากับความต้องการของธุรกิจจีนและภาครัฐของจีน ก็ทำให้โซลูชันด้าน Cloud ของ Huawei เองมีความสามารถที่หลากหลาย พร้อมจะตอบโจทย์ธุรกิจขนาดใหญ่ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มของโซลูชันด้าน Artificial Intelligence (AI), Internet of Things (IoT) และ Smart City ที่ถือเป็นโซลูชันหลักเลยทีเดียว

Huawei เองนั้นมองว่า Cloud เป็นเทคโนโลยีที่จะมีบทบาทสำคัญต่อภาคธุรกิจมานานแล้ว ทำให้ทาง Huawei ได้มีการลงทุนในการเข้าไปร่วมพัฒนาโครงการ Open Source ชื่อดังอย่าง OpenStack มาอย่างต่อเนื่องและกลายเป็น Contributor อันดับต้นๆ ของโครงการ อีกทั้งโซลูชันด้านระบบ Private Cloud ของ Huawei เองก็ยังใช้เทคโนโลยีของ OpenStack เป็นหลัก เพื่อให้เหล่าองค์กรได้ใช้งานเทคโนโลยีที่มีความเป็นมาตรฐาน พร้อมก้าวไปสู่การต่อยอดเป็น Hybrid Cloud ได้อย่างง่ายดาย และแน่นอนว่าในบริการ Public Cloud ครั้งนี้ก็ได้มีการนำ OpenStack มาใช้ภายในระบบโครงสร้างพื้นฐานด้วยเช่นกัน การนำบริการดังกล่าวมาสู่ประเทศไทยทันทีภายในปี 2018 นี้ถือว่าเป็นก้าวการขยายบริการ Cloud ที่รวดเร็วไม่น้อยทีเดียว และทำให้ Huawei เองก็กลายเป็นผู้ผลิตโซลูชัน IT ระดับโลกรายแรกที่มาลงทุนเปิดบริการ Cloud ในไทยด้วยตัวเอง สาเหตุหลักๆ นี้ก็เป็นเพราะ Huawei มองว่าประเทศไทยนั้นเป็นฐานที่มั่นสำคัญของ Huawei ในการรุกไปสู่ตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด อีกทั้งประเทศไทยเองก็ยังมีความสัมพันธ์อันดีกับ Huawei มาโดยตลอดทั้งในมุมของการทำงานร่วมกับภาครัฐและเอกชน ดังนั้นเมื่อประเทศไทยได้แถลงถึงนโยบาย EEC ทาง Huawei เองก็ไม่รอช้าที่จะกลายมาเป็นผู้ให้บริการทางด้านเทคโนโลยีแก่เหล่าธุรกิจอุตสาหกรรมที่กำลังมองหาช่องทางการเติบโต ทั้งนี้ในอนาคตเองก็มีความเป็นไปได้ที่ Huawei จะพัฒนาบริการต่างๆ ขึ้นมาสำหรับตอบโจทย์ธุรกิจในเมืองไทยมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากหนึ่งในกลยุทธ์ของ Huawei นั้นก็คือ gLocal ซึ่งก็คือการที่ Huawei จะนำเทคโนโลยีของตนเองมาปรับใช้ให้เหมาะกับการตอบโจทย์ในแต่ละประเทศหรือแต่ละภูมิภาคให้แตกต่างกันไป ไม่ได้ยึดติดว่าบริการ Cloud ทั้งหมดของตนเองจะต้องเหมือนกันในทุกพื้นที่ทั้งหมดเสมอไป นอกเหนือไปจากประเทศไทยแล้ว Huawei เองก็ยังได้มีการขยายบริการ Cloud ไปยังภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลกอีกมากมาย เพื่อตอบรับต่อกระแสของการทำ Digital Transformation ครั้งใหญ่ที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลกอย่างรวดเร็ว

เดินหน้าพร้อมให้บริการ Cloud อย่างหลากหลาย ตอบโจทย์ภาคธุรกิจและภาครัฐทุกระดับ

ประเด็นที่น่าสนใจคือบริการ Cloud ของ Huawei ที่นำมาเปิดในไทยครั้งนี้ไม่ได้มีแต่บริการพื้นฐานอย่าง Infrastructure-as-a-Service หรือ IaaS เท่านั้น แต่ยังนำบริการอื่นๆ อีกมากมายเข้ามาด้วยเพื่อให้ Huawei Cloud สามารถนำเสนอโซลูชันภาพใหญ่ได้อย่างครบครัน ทั้งการทำ IoT ในขนาดใหญ่อย่างเช่น Smart City, การทำ Big Data Analytics บน Cloud รวมไปถึงการให้บริการด้าน AI สำหรับธุรกิจหรือหน่วยงานภาครัฐต่างๆ ให้สามารถสร้าง AI สำหรับตอบโจทย์เฉพาะทางในเมืองไทยได้ โดยมีพลังประมวลผลที่มากพอทั้งสำหรับการ Train และการทำ Inferrence

นอกจากในแง่มุมของเทคโนโลยีแล้ว สิ่งที่ Huawei ยังจะนำมาสู่ประเทศไทยด้วยนั้นก็คือโซลูชันต่างๆ ที่เคยประสบความสำเร็จในการทำ Digital Transformation ทั้งในระดับภาครัฐและภาคเอกชนของจีน เพื่อนำมาปรับใช้กับภาครัฐและเอกชนของไทยด้วย ซึ่งประเด็นนี้ก็จะครอบคลุมทั้งเรื่องราวของเทคโนโลยี, การสนับสนุนต่างๆ จากภาครัฐ, การฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร และแง่คิดในมุมต่างๆ จากเหล่าผู้บริหารระดับสูงในการตัดสินใจ ทำให้ประเทศไทยสามารถถอดบทเรียนการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้จากจีนได้โดยตรง โดยรวมแล้ว บริการ Cloud ของ Huawei ในประเทศไทยจะครอบคลุมบริการย่อยและโซลูชันต่างๆ ดังต่อไปนี้ Elastic Cloud Service (ECS) บริการ Cloud Server สำหรับให้เช่าใช้งาน Dedicated Cloud (DeC) บริการ Cloud ในรูปแบบที่มีการจัด Virtual Resource Pool มาให้ใช้งาน สำหรับธุรกิจที่มีความต้องการด้าน Data Security Bare Metal Server (BMS) บริการ Cloud ในรูปแบบที่เช่าใช้ Hardware ทั้งชุดเพื่อให้ระบบมีประสิทธิภาพสูงและมั่นใจด้าน Data Security มากยิ่งขึ้น SAP Cloud Huawei Cloud รองรับการติดตั้งใช้งานโซลูชันของ SAP ได้ในตัว Auto Scaling (AS) ความสามารถในการเพิ่มลดทรัพยากรที่ใช้ในระบบ Cloud ได้โดยอัตโนมัติเพื่อให้บริการต่างๆ ของธุรกิจสามารถรับ Workload ปริมาณที่หลากหลายได้ในค่าใช้จ่ายที่คุ้มค่า ลด Downtime ของระบบลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ Image Management Service (IMS) ระบบบริหารจัดการ Template สำหรับ Deploy เครื่องลงไปยัง ECS และ DeC Elasitc Volume Service (EVS) บริการ Persistent Block Storage เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับ ECS และ DeC ได้ด้วยประสิทธิภาพและความทนทานในระดับที่สูง Volume Backup Service (VBS) บริการสำรองข้อมูลและกู้คืนข้อมูลสำหรับ EVS Object Storage Service (OBS) บริการ Object Storage ที่เก็บข้อมูลด้วยความทนทานระดับ 99.999999999% และเข้าถึงข้อมูลได้ผ่าน REST API Virtual Private Cloud (VPC) ใช้บริการ Cloud ที่มีระบบเครือข่ายภายในแยกขาดจากระบบอื่นๆ ได้ ทำให้สามารถเชื่อมต่อ VM ภายในได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย Elastic Load Balance (ELB) บริการ Traffic Load Balancer กระจาย Traffic ไปยัง ECS หลายเครื่องเพื่อเสริมความทนทานให้กับระบบ Direct Connect บริการเชื่มอต่อเครือข่ายแบบ Dedicated Network ความเร็วสูงและปลอดภัยเพื่อเชื่อมต่อ Data Center เข้ากับ VPC ได้โดยตรง Virtual Private Network (VPN) บริการเชื่อมต่อ Data Center เข้ากับ VPC ผ่านเทคโนโลยี VPN อย่างปลอดภัย Anti-DDoS บริการป้องกันการโจมตีแบบ DDoS ในระดับ Application Layer Key Management Service (KMS) บริการปกป้องกุญแจเข้ารหัสด้วย Hardware Security Module (HSM) Cloud Eye ระบบ Monitoring สำหรับตรวจสอบบริการต่างๆ ที่ใช้งานบน Cloud Identity and Access Management (IAM) บริการสำหรับควบคุมการยืนยันตัวตนและกำหนดสิทธิ์ของผู้ใช้งานที่จะมาบริหารจัดการะบบ Cloud Cloud Trace Service (CTS) บริการบันทึกข้อมูลเหตุการณ์และการกระทำทั้งหมดที่เกิดขึ้นบนบริการ Cloud เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้วิเคราะห์เชิง Security, Compliance, Optimzation และ Troubleshooting ได้ตามต้องการ Simple Message Notification (SMN) บริการสำหรับส่งข้อความไปยัง Email Address, เบอรโทรศัพท์, HTTP/HTTPS URL และ Application ต่างๆ เพื่อใช้ในการแจ้งเตือนได้อย่างง่ายดาย

Close Menu